KUSH-03 คลิกที่ภาพเพื่อขยายใหญ่


เหรียญกษาปณ์อินเดีย คุชชาน (Kushan) พระเจ้าขะนิสกะที่หนึ่ง (Kanishka I) ปี พ.ศ. 670-693 (ค.ศ. 127-150) เหรียญกษาปณ์ทองคำดินาร์ (Dinar) น้ำหนัก 7.89 กรัม 19.9 มม. ด้านหน้าและด้านหลังของเหรียญทำมุมเยื้องกัน 11 นาฬิกา

ด้านหน้าของเหรียญ อักขระกรีก-แบคเตรีย ÞAONANOÞAO KANΗÞKI KOÞANO อ่านว่า SHAONANO SHAO KANISHKI KOSHANO ความว่า จอมกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง ขะนิสกะจ้าวคุชชาน พระเจ้าขะนิสกะที่หนึ่งสวมหมวกเหล็กทับด้วยมงกุฏทรงกลมครึ่งท่อน สวมเสื้อโคทยาวรองเท้าบูทยืนผินหน้าไปทางซ้าย เหน็บดาบยาวที่เอวซ้าย มีเปลวเพลิงลุกโซนบนไหล่ขวา มือซ้ายถือหอกด้ามยาว มือขวาถือของ้าว โปรยเครื่องเซ่นเหนือแท่นบูชา

ด้านหลังของเหรียญ อักขระกรีก-แบคเตรีย BOΔΔO อ่านว่า Boddo (โบดโด) ความว่า (Buddha) พระพุทธเจ้า รูปพระพุทธเจ้ามีรัศมีรอบเศียรหนึ่งวงทรงประทับยืน พระพักตร์แบบอย่างเทวรูปกรีกมีมุ่นพระเมาลี ครองจีวรห่มคลุม พระหัตถ์ขวายกขึ้น หงายฝ่าพระหัตถ์ออกระดับพระอุระในท่าปกป้องคุ้มครองป้องกันภยันตราย ไม่ให้มากล้ำกราย (Protection / reassurance / no fear อินเดียเรียกปาง ปกป้องปลอดภยันอันตราย Abhaya mudra) พระหัตถ์ซ้ายถือปลายสังฆาติยกขึ้นระดับบั้นพระเอว พระเศียรมีรัศมีวงเดียว ประกายรังสีแผ่ออกรอบพระวรกายเป็นรูปวงรี เครื่องหมายประจำรัชกาลของพระเจ้าขะนิสกะ (Tamgha) อยู่ด้านขวา มีวงกลมเม็ดไข่ปลาเป็นกรอบนอก

          หนึ่งในเหรียญกษาปณ์ทองคำประทับพระพุทธรูปยืน กำกับด้วยอักขระ ภาษากรีก BODDO นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงการสร้างพระพุทธรูปครั้งแรกของโลก เกิดขึ้นในยุคสมัยของพระเจ้าขะนิสกะ ราชวงศ์คุชชานแห่งอินเดียเหนือ

          เหรียญกษาปณ์ทองคำพิมพ์พระพุทธเจ้ามีสองขนาด คือ
เหรียญ ดินาร์ (Dinar) น้ำหนักไม่เกิน 8 กรัม มีสองพิมพ์ พิมพ์เศียรพระพุทธเจ้ารัศมีหนึ่งวง และ พิมพ์เศียรพระพุทธเจ้ารัศมีสองวงซ้อนกัน
และ เหรียญ เล็ก บาง 1/4 ดินาร์ (1/4 Dinar) น้ำหนักไม่เกิน 2 กรัม

          เหรียญกษาปณ์ทองคำ Dinar รัศมีวงเดียว Single Halo เท่าที่พบ ไม่เกิน 2 เหรียญ เก็บอยู่ที่
          British Museum กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เหรียญที่ถูกอ้างอิง และ กล่าวถึงมากที่สุด เพราะเป็นเหรียญแรกที่ขุดพบ และ รับรู้ไปทั่วโลก
          Thai Private Hands ประเทศไทย เหรียญที่สองของพิมพ์นี้


เหรียญทองคำ 1 ดินาร์ รัศมีวงเดียว Single Halo


          พิมพ์ รัศมีสองวง Double Halo เท่าทีพบ ไม่เกิน 3 เหรียญ เก็บอยู่ที่
          Hirayama Ikuo Silk Road Museum ประเทศญี่ปุ่น
          Museum of Fine Arts เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มีรายงานใน Museum of Fine Arts Buletin, Boston ค.ศ. 1965 หน้า 147 รูปที่ 10 จากนั้น ค.ศ. 1978 มีรายงานว่าได้สูญหายพร้อมกับเหรียญทองคำคุชชานจำนวนหนึ่งจากการจัดเก็บ
          นักสะสมเอกชน ประมูลซื้อไปจาก Classical Numismatic Group, Inc. 10 january 2005, Triton VIII Lot: 676.


เหรียญทองคำ 1 ดินาร์ รัศมีสองวง Double Halo



เหรียญทองคำ 1 ดินาร์ รัศมีสองวง Double Halo นักสะสมเอกชนประมูลซื้อจาก Classical Numismatic Group, Inc. New York.


          เหรียญกษาปณ์ทองคำ เล็ก บาง 1/4 Dinar พบแต่ รัศมีสองวง Double Halo มีไม่เกิน 6 เหรียญ เก็บอยู่ที่
          Biblotheque Nationale de France กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
          The Skanda Collection, University of Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา
          Peshawar Museum ประเทศปากีสถาน
          The Buckingham Collection ประเทศอังกฤษ
          นักสะสมเอกชน สองเหรียญ


เหรียญทองคำ 1/4 ดินาร์ รัศมีสองวง Double Halo



เหรียญทองคำ 1/4 ดินาร์ รัศมีสองวง Double Halo แตกต่างพิมพ์หน้า


          พระเจ้าขะนิสกะ มีความเชื่อ และ ศรัทธาศาสนาพุทธ ทรงอุปถัมภ์ และ โปรดให้มีการจัดสัมนา ปฏิรูป และ สังคายนาพระไตรปิฎก ณ ขะนิสวิหาร (Kanish Vihar) ที่แคว้นแคชเมีย อินเดียเหนือ

          ผลจากการสังคายนา พระพุทธเจ้าถูกกำหนดให้มีสภาวะ เสมือนเทพเจ้า มีอำนาจ มีพลัง เหนือ หรือ มากกว่า เหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย ของกลุ่มชนหลากหลายเผ่าในเขตอาณาที่ทรงปกครอง อาธิ เทพเจ้าโซโลแอสเตอร์ ของ ชาวปาเทียน (Pathian) เปอร์เซียโบราณ เทพเจ้าฮินดู ของ ชาวอินเดีย และ เทพเจ้ากรีก จากดินแดน ชาวแบกเตรียน (Baktrian) เพื่อให้เกิดความ นับถือ ยำเกรง และ เป็นที่พึ่ง ปกป้อง คุ้มครองภัย ซึ่งเหล่าสาวก และ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย สามารถสวดอ้อนวอนขอพรได้ เฉกเช่นมหาเทพเจ้าฯ องค์หนึ่ง จึงเป็นที่นิยม ศรัทธา และ เปลี่ยนมานับถือ จากผู้คนจำนวนมาก เพราะความแตกต่างของหลักคิด ศาสนาพุทธิเดิม เถรวาท ตนเท่านั้น เป็นที่พึ่งแห่งตน

          จากนั้นมา เติบใหญ่กลายเป็นนิกายใหม่ ถูกขนานนามว่า พุทธศาสนานิกายมหายาน (Mahayana Buddhism) การปฎิรูปศาสนาพุทธครั้งนี้ มีการจาร และ บันทึกการปฎิรูปศาสนาฯ บนแผ่นทองแดง

          การนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในความเชื่อ และ วิธีการเผยแพร่ศาสนาพุทธ ก่อให้เกิดการแสดงรูปลักษณ์พระพุทธเจ้า จากการหลอมรวมแนวคิดศิลปะกรีกและอินเดีย กำเนิดพระพุทธรูป สง่า งดงาม ดั่งเทพเจ้ากรีก ศิลปะคันทาระ (Gandhara school) และ เข้มแข็งบึกบึน ดั่งมหาบุรุษเทพเจ้าฮินดู ศิลปะคุชชาน (Kushan school) ในโอกาสเดียวกันนี้ พระเจ้าขะนิสกะยังได้ผลิตเหรียญกษาปณ์ ทองคำ และ ทองแดง เพื่อเป็นที่ระลึก ถึงการสังคายนาศาสนาพุทธครั้งนี้ ดังภาพเหรียญฯ ที่ได้แสดง


ภาพเขียนสถูป Ahin Posh Tope เมื่อแรกพบ


          เหรียญกษาปณ์ทองคำ โบดโด BODDO ของบริติสมิวเซียม (British Museum) มีเอกสารหลักฐานของนายวิลเลี่ยม ซิมสัน (William Simpson) ชาวสก๊อต นักวาดภาพ และ นักข่าวสงคราม เขียน ณ เมือง เจลลาลาบัด (Jellalabad) ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1879 เป็นผู้นำการขุดค้น โดยได้รับความร่วมมือจากทหารอังกฤษจำนวนหนึ่ง ในบันทึก ความว่า

          ขุดพบอยู่ในสถูปโบราณขนาดใหญ่ ชื่อ Ahin Posh Tope ใกล้เมืองเจลลาลาบัด ชายแดนประเทศปากีสถาน ติดประเทศอาฟกานิสถาน ได้พบกล่องบรรจุเครื่องราง (Amulet Box) รูปทรงกระบอกหกเหลี่ยม ยาว 8 ซ.ม. กว้าง 3 ซ.ม. สูงถึงหูของห่วงรูกลม 4.6 ซ.ม. ทำด้วยทองคำประดับพลอย ภายในบรรจุเหรียญกษาปณ์ทองคำสองเหรียญ คือเหรียญทองคำของพระเจ้าวิมา กัดฟิสส์ (Wima Kadphises) และของพระเจ้าขะนิสกะที่หนึ่ง (Kanishka I) ด้านหลังของเหรียญเป็น BODDO และเถ้าอัฐิจำนวนหนึ่ง ภายนอกกล่องบรรจุเครื่องรางนี้ ยังพบเหรียญทองคำอีกยี่สิบเหรียญวางอยู่โดยรอบ เป็นเหรียญของพระเจ้าวิมา กัดฟิสส์ พระเจ้าขะนิสกะที่หนึ่ง พระเจ้าฮูวิชกะ (Huvishka) และเหรียญทองคำโรมันสองเหรียญ คือ ของจักรพรรดิโดมิเทียน (Domitian ค.ศ. 93-98) และจักรพรรดิทราจาน (Trajan ค.ศ. 98-117) นอกจากนั้นล้วนเป็นเครื่องประดับทองคำ และพลอยต่างๆ มีรูปหล่อทองคำจิ๋วขนาดนิ้วมือเป็นเทพเจ้าสตรีหนึ่งองค์

          เชอร์อาเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม (Sir Alexander Cunningham) นักโบราณคดีผู้ค้นพบพุทธคยาและสังเวชนีย์สถานแห่งอื่น ได้บันทึกไว้ว่า ในบรรดาสถูปขนาดใหญ่ของพุทธศาสนามักจะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกขธาตุ หรือเถ้าอัฐิของพระภิกษุผู้อาวุโส ตามคติโบราณนั้น ในการบรรจุจะต้องประกอบด้วยของมีค่าเจ็ดอย่าง (Saptaratna) ประกอบด้วย แก้ว แหวน เงิน ทอง พลอย ไข่มุก ฯลฯ เสมอ








อักขระภาษากรีก


คลิกที่นี่ เพื่อย้อนกลับสู่หน้าแรก